Home -> Blog -> Network ที่ดีต้องวางอยู่บนพื้นฐานของสายที่ดี

Network ที่ดีต้องวางอยู่บนพื้นฐานของสายที่ดี

บทความให้ความรู้สนับสนุนโดยบริษัท Interlink Communication จำกัด มหาชน นะคร้าบบ

พูดถึงอาชีพเก่าที่ผมไม่ได้ทำมาซักพักแล้ว เพราะมัวแต่ไปปั่นจักรยานกับทำงานพิธีกรก็คือ SI หรือ System Integrator หรือ ก็คือ คนวางระบบ Network Infrastructure ให้กับบริษัท สำนักงานทั้งหลายเพื่อใช้ระบบ IT ในองค์กรสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามหลัก Network Design นั่นแหละครับ ซึ่งวันนี้จะขอพูดถึงปัจจัยสำคัญที่สุดตัวนึงที่ทำให้ Network ในองค์กร หรือแม้แต่ในบ้านของคุณมีความเสถียรและรองรับการทำงานไปได้อย่างน้อย 10-20 ปี นั่นก็คือ ระบบ Cabling นะครับ

เวลาเราทำ Network Design ส่วนใหญ่เราก็จะต้องไปถาม Requirement มาจากลูกค้าก่อนครับ ซึ่งถ้าลูกค้าเป็นมือใหม่มากๆ เค้าก็จะไม่รู้อะไรเลยครับ ก็ต้องไล่ถามไปเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะรู้ประมาณ 3-4 ข้อด้วยกันเช่น

  • คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่จะเชื่อมมีกี่เครื่อง และภายใน 1-2 ปี จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณกี่เครื่อง
  • Wireless LAN ต้องใช้ที่จุดไหนบ้าง
  • มีจุดไหนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษบ้างไหม เช่น ห้องเจ้านาย , ห้อง Server , ระบบกล้องวงจรปิด หรือระบบบัญชี , Payroll , Stock อะไรประมาณนี้
  • มีอุปกรณ์อะไรประหลาดๆ บ้างไหม เช่นระบบ Fingerprint Scanner หรือ Keycard

จากนั้นเราก็ใช้ความรู้ด้าน Network Design ของเราใส่เพิ่มเติมเข้าไป เพื่อให้ Requirement ของลูกค้ากลายเป็น Network Design ที่ใช้งานได้จริงครับ จากนั้นค่อยทำราคา แล้วก็วางระบบอะไรก็ว่าไป

2759249001_b6e19302b4_z

โดยที่ระบบที่ผมให้ความสำคัญมาก ไม่ใช่ ความแพงของอุปกรณ์ Network หรือ Server (บางครั้งลูกค้าเจอราคาอุปกรณ์เกรด A ก็หน้าหงาย เลยต้องลดสเป็คกันบ้างครับ) แต่ส่วนที่ผมจะเน้นย้ำว่าให้ทำดีๆไปเลยทีเดียว คือระบบสายส่งข้อมูล และสายไฟฟ้าครับ

A75-2114-mainV

 

เรื่องไฟฟ้าก็แน่นอนอยู่แล้วว่าอุปกรณ์ทุกตัวมันทำงานด้วยไฟฟ้าหมด ถ้าไฟฟ้า ไม่พอหรือไฟกระชากบ่อยๆ อุปกรณ์ก็จะพัง เสียหาย และจะลามปามไปถึงข้อมูลเสียหายด้วย ดังนั้นผมจะแนะนำให้เดินสายไฟดีๆ + มี Backup UPS ในทุกๆจุด Network และคอมพิวเตอร์ที่ทำงานสำคัญๆอยู่ครับ อ้อ แล้วก็ต้องคำนวนปริมาณไฟฟ้าที่จะใช้ในแต่ละจุดให้ดีด้วยนะครับ ไม่ใช่เอา UPS ตัวเล็กๆ ไปยัดใส่ Server ตัวเบ้อเร่ออะไรแบบนี้ พอถึงเวลาจริงไฟก็ไม่พอใช้งานอยู่ดี

อีกเรื่องก็คือ สายส่งข้อมูลต่างๆ เช่นสาย LAN , Fiber Optic หรือสาย Coaxcial สำหรับกล้องวงจรปิด

400_2807340-NCB-5EUBLUR-100

การวางแผนและเลือกคุณภาพของสายพวกนี้ให้ดีๆ ก่อนเดินสายเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะ ขั้นตอนการเดินสาย มันจะต้องทำก่อนที่การตกแต่งจะเสร็จครับ จะลากใต้ฝ้า , ใต้พื้น , ทำราง หรือเดินผ่าน Shaft ของอาคารก็ว่าไป ซึ่งถ้าเดินสายไปแล้ว อยู่ดีๆจะมาแก้ไข เพิ่มเติม ภายหลัง มันนรกชัดๆเลยนะครับ เพราะต้องรื้อที่ตกแต่งไว้ใหม่หมด หรือ เดินลอยๆ แล้วเอาท่อปิด ซึ่งหน้าตาก็จะไม่สวยอีก

การเลือกคุณภาพของสาย LAN 

สาย LAN หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาย UTP (Unshield Twisted Pair) เป็นสายส่งข้อมูลแบบ Basic ที่สุด ใช้ทองแดงตีเกลียวกันภายในสายเพื่อลดสัญญาณรบกวน อายุของสายตัวนี้น่าจะซัก 25 ปีแล้วมั้งครับ สาย LAN ทำหน้าที่เชื่อมข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ Network ด้วยกัน เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ Network เช่น Switch , Router

สาย LAN แบ่งประเภทเป็นหลักๆได้ประมาณ 4 รุ่นก็คือ

  • CAT5 : ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 Mbps (ตอนนี้ไม่ค่อยใช้กันแล้ว)
  • CAT5E : รองรับความเร็วสูงสุดที่ 1 Gbps ความถี่อย่างน้อย 100 MHz  (ใช้กันเยอะสุดตอนนี้)
  • CAT6 : รองรับความเร็วสูงสุดที่ 10 Gbps ความถี่อย่างน้อย 250 MHz (กำลังเป็นที่นิยม แนวโน้มมาแทน CAT5E)
  • CAT6A : มาตรฐานใหม่สุด รองรับความเร็วสูงสุด 10 Gbps หรือสูงกว่า ที่ความถี่อย่างน้อย 500MHz แต่ทั้งนี้ Port LAN ยังไม่มีมากกว่า 10 Gbps

ตามมาตรฐานแล้ว สาย LAN 1 เส้น สามารถลากได้ไกลสุดที่ 100 เมตรครับ แต่นั่นมันทางทฤษฏีครับ ในความเป็นจริงพวกผมจะลากกันยาวสุดแค่ 80 เมตรเท่านั้น การลากยาวเกินไป มีโอกาสที่การส่งข้อมูลผิดพลาดจะเกิดขึ้นสูงมากครับ แทนที่เราใช้สายแล้วจะได้ความเร็วเต็มๆ กลับจะช้ากว่าเดิมมากกว่า

การเดินสายในอาคารทั่วๆไป ก็จะใช้สาย UTP นี่แหละครับ ข้อดีก็คือ ราคาไม่แพง ทนทาน(อยู่ได้ 10 ปี ถ้าไม่โดนแดด หรือความร้อนสูงเล่นงาน) ดูแลรักษาง่าย สามารถปรับใช้งานกับพื้นที่ได้หลายรูปแบบ

SNAG-0090

อย่างสาย LAN CAT5E ที่ใช้กันเยอะที่สุด สายทั่วไปจะรองรับความถี่ได้แค่ 100Mhz แต่สาย CAT5E ของ LINK สามารถรองรับความถี่ได้สูงสุดถึง 350Mhz ครับ

แต่สายแบบ UTP ทั่วๆไป จะใช้ลากภายในอาคารเท่านั้นนะครับ ถ้าเกิดสถานที่ ที่คุณอยากจะลากมันเป็นโรงงานที่มีความร้อนสูง หรือลากผ่านพวก Generator ขนาดใหญ่ที่จะก่อให้เกิดคลื่นรบกวน อันนี้ก็ต้องเปลี่ยนสายใหม่ ให้เหมาะสม ขืนใช้สาย UTP แบบเดิมรับรอง ละลาย ไม่ก็โดนคลื่นรบกวนจนใช้งานไม่ได้ครับ

SNAG-0091

กรณีแบบนี้ก็ต้องเลือกสายที่มี Shield หุ้ม หรือสาย STP (Shield Twisted Pair) มาใช้งานครับ สายพวกนี้จะมี Metal Shield เป็นแผ่นโลหะบางๆ หุ้มสายทองแดงไว้เพื่อลดสัญญาณรบกวน บวกกับพลาสติกหุ้มสายเป็นเกรดทนความร้อนสูง จึงสามารถลากผ่านจุดโหดๆทั้งหลายได้ครับ

และสำหรับ Network ที่ต้องการความเร็วสูงมากๆ ในการส่งข้อมูล เช่น การเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์ทั้งชั้น หรือ File Server ที่มีคนเข้าไปเรียกใช้ข้อมูลมากๆ ผมก็แนะนำให้ใช้สาย CAT6 กับเครือข่ายแบบ 10GBPS นะครับ

SNAG-0093

สาย CAT6 เป็นสายพิเศษที่จำเป็นจะต้องมี Cross Filler หรือฉนวนกันคลื่นรบกวนภายในสายเลย รวมไปถึงหัว LAN ก็ต้องมีการใส่ฉนวนพิเศษกั้นเข้าไปด้วย เพื่อให้ได้ความเร็วสูงสุดครับ ถ้าเป็นสาย CAT6 ของ LINK สามารถรองรับความถี่ได้ถึง 600Mhz  เกรดของทองแดงก็เป็นเกรด 23 AWG ใหญ่กว่าที่สายทั่วๆไปใช้กัน เรียกได้ว่า ใช้สาย CAT6 ที่มาตรฐาน CAT6A กันเลยทีเดียว

อีกเรื่องนึงที่จำเป็นมาก แต่หลายๆคนอาจจะไม่รู้ ก็คือ เรื่องของความปลอดภัยครับ นั่นก็คือสาย LAN ที่ใช้ในอาคารจะต้องได้รับมาตรฐาน CM , CMR หรือ CMP ครับ นั่นก็คือ เมื่อสาย LAN มีการไหม้ไฟ เกิดขึ้น การลามของไฟ จะต้องห้ามลามไปเกินกี่เมตรก็ว่าไป โดยที่สาย LAN ของ LINK จะได้มาตรฐาน CMR ด้วย นั่นก็คือ เมื่อไหม้ไฟแล้วจะมีการลามไม่เกิน 3 เมตรครับ (ประมาณ 12 ฟุต) เพื่อป้องกันกรณีไฟไหม้ในห้องๆนึงแล้วลามผ่านสาย LAN ขึ้นไปบนฝ้า แล้วทำให้ไฟไหม้ลามไปทั้งตึกบรรลัยกันหมด

SNAG-0092

ที่เหลือก็เป็นพวก Feature เล็กๆน้อยๆ ที่จะทำให้ทำงานกับสาย LAN นั้นได้ง่ายขึ้น อย่างของ LINK ที่ผมชอบก็คือ การเข้าสายทำได้ง่าย เพราะสายนิ่มเวลาเข้าหัวแล้วไม่เจ็บมือ แล้วก็มีตัว RIPCord ทำให้ปอกสายง่าย ปิดท้ายด้วย คู่สายจะมีแถบสีบนคู่ขาว ทำให้เวลาเข้าหัวง่ายขึ้นมากครับ

Fiber-Optic (1)

ถัดมาก็คือ สาย Fiber Optic หรือ สายใยแก้วนำแสง สายพวกนี้เป็นสายส่งข้อมูลที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะส่งข้อมูลได้เร็วมหาศาล + ไกลโคตรๆ ถึงแม้การติดตั้งจะยากไปนิด แต่คุ้มค่าการลงทุนอย่างมากครับ

ดังนั้นสาย Fiber จึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการลาก Cable ใต้ทะเลเพื่อเชื่อมข้อมูลระดับประเทศ ไปจนถึงลากจาก ISP มาจนถึง Node ที่ให้บริการตามจุดต่างๆในย่านชุมชนครับ

หลักการทำงานของ Fiber Optic คือ จะทำการแปลง (Modulate) ข้อมูล Digital ให้กลายเป็นแสง แล้วยิงเข้าไปใส่สาย Fiber Optic ซึ่งข้างในจะเป็นแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก เมื่อแสงวิ่งผ่านแก้วไป มันจึงแทบจะไม่มีการลดทอนของสัญญาณเลย ดังนั้น คลื่นรบกวนก็น้อย ส่งสัญญาณก็เลยได้ไกลลิบ แถมยังมีความเร็วสูงมากอีกต่างหาก

FiberOpticsGraphic1

สาย Fiber Optic มีอยู่ 2 แบบนั่นก็คือ

  • Single Mode ขนาดของสายจะมีขนาดเล็กกว่าเพื่อบีบให้ยิงลำแสงไปได้แค่เส้นเดียว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้ส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลมากๆ
  • Multimode จะมีขนาดของสายใหญ่กว่า แสงที่ยิงเข้าไปจะกระจายเป็นหลายๆเส้น ทำให้ระยะทางของสายไกลไม่เท่าแบบ Singlemode โดยที่ระยะที่ไกลสุดที่รองรับคือ 2 กิโลเมตร

การลากภายในอาคาร จะไม่ค่อยใช้สาย Fiber Optic ซักเท่าไหร่ ยกเว้น เชื่อมระหว่างชั้นที่ไกลมากๆ หรือเชื่อมระหว่างโรงงานนึงไปอีกโรงงานนึงครับ

แต่ในแง่การออกแบบก็ต้องมีการออกแบบให้ห้อง Server รองรับการใช้งานกับ Fiber Optic ไว้ด้วย เพราะว่า ตอนนี้ Internet แบบ FTTX (Fiber to the Home / Office ) ก็ราคาถูกลงมากแล้ว ทำให้หลายๆ Office ที่ผมดูแลอยู่เริ่มเปลี่ยนไปใช้ Fiber Optic ในงานใช้งาน Internet แทน ADSL แบบเก่ากันแล้วครับ

SNAG-0095

สำหรับการเลือกใช้งาน Fiber Optic ในงานต่างๆ ทาง LINK ก็มีสาย Fiber Optic สารพัดแบบเพื่อรองรับการใช้งานทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น

  • สายแบบ Indoor เพื่อเชื่อมต่อระหว่างชั้น หรือใช้งานในอาคารทั่วไป
  • สายแบบ Outdoor เพื่อเป็น Backbone ในการเชื่อมระหว่างตึก
  • สายแบบ Dropwire ที่มีลวดนำทาง เอาไว้ใช้ในการลากผ่านเสาไฟฟ้า
  • สายแบบ Armour หรือสายหุ้มฉนวนอย่างดี เพื่อเอาไว้สำหรับงานลากใต้ดิน

และสายอื่นๆอีกเพียบ ยังไงลองไปดูที่หน้า Product ของบริษัท Interlink ได้เลยนะครับ http://www.interlink.co.th/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=5&lang=th

ปิดท้ายด้วยระบบกล้องวงจรปิด

เราลากสาย LAN เพื่อเชื่อมข้อมูลระยะใกล้ๆในองค์กร และลาก Fiber เพื่อเชื่อมข้อมูลระยะไกลกันแล้ว อีกหนึ่งบริการที่เดี๋ยวนี้ต้องติดตั้งกันทุก Office และสถานที่นั่นก็คือ กล้องวงจรปิดครับ

กล้องวงจรปิดตอนนี้มีอยู่ 2 รูปแบบนะครับคือแบบ CCTV (Closed Circuit Television) กับแบบ IP Camera (กล้องที่ใช้ระบบ LAN ในการเชื่อมต่อและส่งข้อมูล)

VDR0973_12182013201759_DVR I

แบบ CCTV น่าจะพบเห็นกันได้บ่อยสุด หลักการทำงานก็คือ กล้องทุกตัวจะทำหน้าที่แค่รับภาพ จากนั้นก็ส่งข้อมูลไปประมวลผลที่กล่อง DVR (Digital Video Recorder) กล่องนี้ก็จะทำหน้าที่รับภาพจากกล้องทุกตัวมาแสดง แล้วก็บันทึกเก็บเอาไว้ด้วย

k1217+

ส่วน IP Camera ก็จะไม่จำเป็นต้องมีกล่อง DVR มาควบคุม (หรือในกรณีที่ต้องจัดการ IP Camera หลายสิบตัว ก็สามารถใช้ IP Cam Controller ได้เช่นเดียวกัน) ตัวกล้องสามารถจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ตั้งกะ ดู , ควบคุม , บันทึก , แจ้งเตือนความผิดปกติอะไรแบบนี้ แต่ค่าตัวก็จะราคาแพงกว่ากล้องแบบ CCTV ครับ

วิธีการเลือกว่าจะใช้กล้องระบบไหนขึ้นอยู่กับจำนวนกล้องว่าอยากจะใช้กี่ตัวครับ ถ้าจุดน้อยๆ เช่น ไม่เกิน 5 จุด การใช้ IP Camera จะประหยัดกว่า เพราะว่า ไม่ต้องใช้กล่อง DVR และสามารถใช้สาย LAN ในการติดตั้งได้เลย แต่ถ้าเกิดจุดที่จะต้องใช้เกิน 5 จุดขึ้นไป ผมว่าลงทุนกับ CCTV ก็คุ้มค่ากว่าครับ ยิ่งถ้าเกิดต้องใช้ซัก 10-15 ตัวนี่ก็ต้องใช้ CCTV เลยล่ะ

ส่วนเรื่องของจำนวนจุดว่าจะติดตั้งกี่จุดนั้น ขึ้นอยู่กับ ความสำคัญของพื้นที่ ที่จะต้องดูแลครับ (ซึ่งส่วนใหญ่ความสำคัญจะลดลงตามงบประมาณ)  แล้วก็ต้องแบ่งกันอีกว่าจะติดตั้งแบบ Outdoor กี่จุด Indoor อีกกี่จุด)

อีกเรื่องนึงที่เป็นปัญหาถกเถียงกันว่า กล้องใครชัดกว่ากัน ระหว่าง CCTV กับ IP Camera อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับ Sensor รับภาพนะครับ แต่เคยมีปัญหานึงที่ผมเคยต้องไปแก้ไขให้ลูกค้าก็คือ ลงทุนซื้อกล้อง CCTV ชั้นดี มา แต่ภาพก็ยังไม่ชัด เรียกได้ว่าเบลอ และ มัว เหมือนคนตาสั้นพึ่งตื่นนอนตอนเช้าเลยครับ

ปัญหาที่ผมเจอก็คือ กล้องดี แต่สายที่ใช้ดันห่วย ผลก็เลยทำให้โครงการนี้ต้องลากสายใหม่หมด 48 จุดกับกล้อง 48 ตัว (เจ้าของโรงงานน้ำตาไหลเลย ผมก็ไม่รู้จะแก้ให้ยังไง)

สายที่เชื่อมระหว่างตัวกล้องกับกล่อง DVR เราเรียกว่า สาย Coaxial ครับ

SNAG-0096

สาย Coaxial หรือที่ชอบเรียกย่อๆกันว่า สาย Coax เป็นสายทองแดงหนาที่มี Shield หุ้มโดยรอบ ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียหุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ ใช้ในการส่งข้อมูลแบบ Analog เช่นสัญญาณภาพอย่าง CCTV หรือ สัญญาณเสียงเช่นจาก Player ไปออก Amp ออกไรแบบนี้ครับ 

สาย Coaxial มี 2 แบบคือ shield แบบบางกับแบบหนาครับ ซึ่งแบบบางจะมีระยะทางในการส่งข้อมูลได้ประมาณ 185 เมตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ใช้ติดตั้งสายว่า มีคลื่นรบกวนมากน้อยเพียงใด

Coaxial-Cable-with-Physically-Foamed-PE-Insulation-for-Cable-Distribution-System

ข้อดีของสาย Coaxial คือ โคตรทนทาน ลากได้ระยะทางไกลกว่าสาย LAN แต่ราคาถูกกว่ากันมากนั่นเองครับ ซึ่งสำหรับโครงการที่ต้องใช้สาย Coaxial ระยะทางไกลๆ ยิ่งต้องใช้สายที่มีทองแดงคุณภาพดี เพราะว่าถ้าเจอทองแดงห่วยๆ คุณภาพของการส่งข้อมูลจะแย่มาก ภาพงี้เบลอไปหมด

SNAG-0097

สำหรับงานติดตั้ง CCTV ผมเชื่อว่าหลายๆคนน่าจะเจอการลากสายผ่านอะไรพิศดารๆ เยอะนะครับ ซึ่งทางสาย LINK เค้าก็มีสายสารพัดแบบเพื่อหลากหลายสถานการณ์นะ

เช่นที่ผมชอบมากเลยก็คือ สาย Coaxial ที่มาพร้อมกับสายไฟในตัว ทำให้การติดตั้งกล้องวงจรปิดง่ายกว่าเดิม เพราะไม่ต้องเดินสายไฟฟ้าไปด้วย แค่เดินสาย Coaxial แบบมีสายไฟฟ้าในตัวไปจ่ายไฟให้กล้องได้เลยสะดวกที่สุด

สำหรับกล้องวงจรปิดในลิฟท์จะต้องใช้ สายแบบนิ่มพิเศษ มีความยืดหยุ่นสูง  เพื่อที่จะสามารถรองรับการขึ้นลงของลิฟท์ได้หลายๆปี

หรือถ้าอยากลากไกลมากๆ แบบระยะ 700 เมตร ก็มีสายแบบ Shield 96% ที่หุ้มด้วยทองแดงครับ สายแบบนี้แจ๋วมาก คลื่นรบกวนน้อย แถมยังทนแดดทนฝนอีกต่างหาก

ซึ่งในงานรับวางระบบของผม ผมก็วุ่นวายกับ สายสามแบบนี้แหละครับ UTP / Fiber / Coaxial ซึ่งถ้าเราเลือกของดีๆ ปัญหาอื่นของการวางระบบมันจะน้อยมากไปเลยครับ เพราะนอกจากทนทานทำให้ไม่ต้องมาปวดหัวเรื่องการดูแลแล้ว คุณภาพของการรับส่งข้อมูลยังดีอีกด้วย

สำหรับใครที่สนใจอยากจะลองใช้งานสายสัญญาณของ LINK ในการวางระบบดูบ้าง ก็ลองดูรายละเอียดข้อมูลได้ที่ http://www.interlink.co.th ซึ่งบริษัท Interlink ก็เป็นผู้นำด้านสายสัญญาณของประเทศไทยมากกว่า 25 ปีครับ เจ้าแรกที่เอาสาย LAN เข้ามาใช้และจำหน่ายในบ้านเราก็บริษัทนี้แหละ

Check Also

การเรียนรู้รูปแบบใหม่ของ ม.กรุงเทพ ที่ทำให้อยากกลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง

นี่คือความรู้สึกของผมจริงๆ ตอนที่นั่งฟังอยู่ในงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2019 ที่ผ่านมานี่แหละ ต้องเล่าให้ฟังก่อน ที่ ม.กรุงเทพเนี่ย เป็นมหาวิทยาลัยที่จะใช้ Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ เป็นแกนกลางแล้วนำไปผสานกับเทรนด์อื่นๆของโลก เพื่อสร้างเป็นหลักสูตร …

111 comments

Leave a Reply