Home -> Blog -> CAT Supply Chain Visibility : ระบบจัดการห่วงโซ่อุปทานที่จะช่วยเหลือโรงพยาบาลรัฐ

CAT Supply Chain Visibility : ระบบจัดการห่วงโซ่อุปทานที่จะช่วยเหลือโรงพยาบาลรัฐ

ปิดท้ายซีรีส์พาทัวร์บริการแปลกๆของทาง CAT e-business … ด้วยตอนที่สามกับบริการที่ชื่อว่า CAT Supply Chain Visibility ครับ เป็นบริการที่ผมมองว่ามันจะช่วยเหลือให้ระบบโรงพยาบาลรัฐสามารถสั่งซื้อ ยา และส่งต่อให้คนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเลยแหละ

ระบบ CAT Supply Chain Visibility เนี่ย มันเกิดขึ้นมาจาก ผู้บริหารสามท่านจากสามองค์กรใหญ่ด้วยกันครับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม และ โรงพยาบาลหาดใหญ่ ในการจัดทำระบบนี้ขึ้นมาครับ … จุดกำเนิดของเรื่องนี้ก็น่าจะเกิดจากปัญหาของระบบการสั่งซื้อยา และจ่ายยาด้วยคอมพิวเตอร์ของทางโรงพยาบาลรัฐหลายแห่งยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ทาง CAT ที่นำโดยคุณชัยยุทธ สันทนานุการ รักษาการในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย เล็งเห็นว่าทาง CAT น่าจะเป็นคนช่วยพัฒนาระบบ Supply Chain สำหรับการจัดซื้อยาของโรงพยาบาลรัฐและศูนย์อนามัยทั่วประเทศไทย จึงมาปรึกษาทาง  นายแพทย์ กุลเดช เตชะนภารักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ และ นายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข

IMG_8226

ซึ่งถ้าพูดถึงปัญหาหลายๆคนอาจจะนึกไม่ออกนะครับ แต่ปัญหาหลักๆก็มีดังต่อไปนี้

  • คำสังซื้อไปถึงช้า
  • เอกสารตกหล่น
  • ช่องทางการสั่งซื้อ มีสารพัดแบบ เดี๋ยวโทรสั่ง เดี๋ยว Fax เดี๋ยว Email ..
  • ยาเก่าที่หมดอายุ ค้างสต๊อก ก็ไม่ได้เอาไปเปลี่ยนเป็นยาใหม่
  • ยาจำนวนมากที่วนอยู่ในระบบ ไม่สามารถ Track ได้ว่า สั่งมาจากเจ้าไหน จ่ายให้คนไข้คนไหนไป

ซึ่งการจะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ จำเป็นที่จะต้องทำระบบที่เรียกว่า  Supply Chain Management ขึ้นมาครับ

supply_chain

อยากให้จินตนาการถึง การประกอบรถขึ้นมาซักหนึ่งคัน .. ถึงแม้ว่า รถคันนั้นจะออกมาจากโรงงาน แต่ก็ใช่ว่า โรงงานนั้นโรงงานเดียวจะเป็นคนทำรถขึ้นมาตั้งกะศูนย์ เราจะเป็นต้องมีโรงงานหาวัตถุดิบ เช่นเหล็ก พลาสติก หนัง ผ้า น็อต กระจก และเอามาประกอบเป็นส่วนต่างๆ เช่น ประตู เบาะ เครื่องยนต์ สุดท้ายพอประกอบเป็นคัน ก็ส่งไปขายให้ลูกค้า โดยรวมแล้วเมื่อ Flow ทั้งหมดครบก็จะมีคร่าวๆประมาณนี้ครับ

จัดซื้อวัตถุดิบ -> โรงงานฝ่ายผลิต -> กระจายสินค้า -> ผู้ซื้อแบบซื้อส่งมากๆ -> ห้าง/ร้านค้าแบบปลีก -> ลูกค้า/ผู้บริโภค

ระบบ Supply Chain Management (SCM) เนี่ย ก็ไม่ใช่ของใหม่อะไร มีการพัฒนาระบบนี้ขึ้นมาหลายปีแล้ว แต่การจะพัฒนาให้ครบวงจรทั้งธุรกิจ มันจะต้องไปวุ่นวายกับหลายองค์กร ตั้งกะฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายสต๊อก ฝ่ายขาย ดังนั้นระบบนี้มันก็ไม่ใช่ถูกๆ และยิ่งเป็นธุรกิจยา มันยิ่งเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะเป็นธุรกิจเฉพาะทางอีก

 

SNAG-0156

ซึ่งก็จะช่วยเหลือปัญหาที่ที่ทางโรงพยาบาลรัฐหลายๆแห่งเจอ นั่นก็คือ ไม่มีงบประมาณด้านไอทีในการทำระบบ Supply Chain ของตัวเองขึ้นมานั่นเองครับ ถ้าหันมาใช้ระบบนี้ เรื่องก็จะง่ายเข้า

โดยลักษณะการทำงานของระบบนี้ ก็จะเป็นดั่งภาพข้างบนเลยครับ

ทางโรงพยาบาลที่อยากจะใช้ระบบนี้ ก็ใช้คอมพิวเตอร์ Login เข้ามายังระบบ CAT Supply Chain Visibility จากนั้นก็กรอกคำสั่งซื้อ หรือหากต้องการเปลี่ยนแปลงคำสั่งก็สามารถแก้ไขได้ .. เมื่อยาเดินทางมาถึง เอกสารใบแจ้งนี้ก็จะส่งต่อให้กับฝ่ายจัดซื้อ ส่วนฝ่าย Stock ก็จะมีระบบในการเช็คสถานะของยาที่สั่งเข้ามา ยาตัวไหนสั่งมาก่อน ก็นำไปจำหน่ายให้คนไข้ก่อน เพื่อลดปัญหายาหมดอายุค้างสต๊อก

ซึ่งระบบนี้ ไม่ได้เพียงแต่อยู่แค่ใน โรงพยาบาล กับ องค์กรเภสัชกรรมเท่านั้นนะครับ แม้แต่คนไข้ก็จะสามารถ track ได้ด้วยว่าตัวยาที่ตัวเองได้รับมา รับมาเมื่อไหร่ หมดอายุเมื่อไหร่ จะได้ไม่เผลอทานยาหมดอายุเข้าไป เพราะผมเชื่อว่ามีคนไข้หลายคนนะ ที่ชอบกินยาไม่หมดแล้วก็เก็บยาเอาไว้เผื่อกินอีกรอบตอนเกิดอาการนั้น นั่นแหละครับเป็นเรื่องที่ไม่ปลอดภัยเอาซะเลยนะ

ระบบนี้ดูเผินๆอาจจะเป็นแค่ระบบ SCM ธรรมดา แต่แผนงานในอนาคต จะกลายเป็นโครงการนำร่องอันจะนำไปสู่การร่วมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้านกลุ่มอุตสาหกรรมยาของประเทศไทย (Pharmacy Trade Exchange – PTX) ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านโลจิสติกส์ของภูมิภาคเอเชีย (Asia Trade Exchange – ATX) ในอนาคตอันใกล้เลยทีเดียวครับ

เอ้า ฝากคนที่อยู่ในหน่วยงาน โรงพยาบาลรัฐ ฝากแจ้งผู้ที่รับผิดชอบให้เอาระบบนี้ไปติดตั้งในโรงพยาบาลหน่อยครับ ไม่เกี่ยงว่าจะขนาดไหน เป็นอนามัย ก็ขอใช้ระบบนี้ได้นะครับ

Check Also

การเรียนรู้รูปแบบใหม่ของ ม.กรุงเทพ ที่ทำให้อยากกลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง

นี่คือความรู้สึกของผมจริงๆ ตอนที่นั่งฟังอยู่ในงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2019 ที่ผ่านมานี่แหละ ต้องเล่าให้ฟังก่อน ที่ ม.กรุงเทพเนี่ย เป็นมหาวิทยาลัยที่จะใช้ Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์ เป็นแกนกลางแล้วนำไปผสานกับเทรนด์อื่นๆของโลก เพื่อสร้างเป็นหลักสูตร …