Home -> Review -> รีวิว Samsung Series 9 Ultrabook ตัวใหม่จาก Samsung

รีวิว Samsung Series 9 Ultrabook ตัวใหม่จาก Samsung

เมื่อวันที่ 13 / 06 / 2012 ทาง Samsung ได้เชิญผมไปในฐานะ Blogger เพื่อไปชมการเปิดตัวแบบ มินิ สำหรับสื่อในวงการ IT ของ Ultrabook ตัวใหม่จาก Samsung ที่ชื่อรุ่นว่า Series 9 ครับ ซึ่งหลังจากได้ที่รับชม ประวัติขั้นตอนความเป็นมาของมัน และความสามารถสุดอลังการ์ของ Series 9 ไปแล้ว ผมก็ได้รับเครื่องมาทดสอบประมาณ 1 อาทิตย์ด้วย เพื่อนำมารีวิวให้กับแฟนๆ Freeware.in.th นะคร้าบ

Ultrabook เป็น Platform ใหม่ล่าสุดที่ผมเคยเกริ่นไปก่อนหน้านี้แล้วในรีวิว หลายๆตัวเช่น [HP Folio13] หรือ Samsung Series 7 ที่ถึงแม้จะไม่ใช่ Ultrabook แท้ๆ แต่ความสามารถก็ใกล้เคียง ใครไม่รู้ว่ามันคืออะไร ก็ย้อนไปอ่านได้นะครับ แต่ในปีนี้ทาง Intel เองก็ได้เปิดตัว CPU ตระกูล Core i รุ่นที่ 3 ภายใต้ชื่อสถาปัตยกรรมว่า Ivy Bridge ที่ใช้การผลิตระดับ 22 นาโนเมตรและระบบ ทรานซิสเตอร์แบบใหม่ที่ชื่อว่า Tri gate 3D จึงทำให้ความเร็วของตัว CPU เพิ่มขึ้น แต่อัตราการกินไฟลดน้อยลงกว่าเดิมอีกครับ

ลองดูวีดีโออธิบายเรื่อง Tri-Gate 3D ได้ที่นี่ครับ ทาง Intel ทำได้น่าสนใจดี

และเมื่อออก CPU ตระกูลใหม่ออกมา ทาง Intel ก็ได้กำหนด Spec ขั้นต่ำเอาไว้ด้วยว่า การจะเป็น Ultrabook นั้นจะต้องมี Spec ระดับไหนบ้าง ถึงจะเรียกตัวเองว่า Ultrabook ได้นะครับ

Spec ขั้นต่ำที่จะเป็น Ultrabook ได้ในรุ่นต่างๆ

และสำหรับรุ่นปี 2012 ที่เราใช้กันอยู่ทาง Intel ก็ได้กำหนดเอาไว้ว่า การจะเป็น Ultrabook นั้นจะต้อง

  • ใช้ CPU ของ Intel Ivy Bridge
  • ถ้าขนาดจอ 13.3″ จะต้องหนาไม่เกิน 18 มม.
  • ถ้าขนาดจอไม่เกิน 14″ จะต้องหนาไม่เกิน 21 มม.
  • และหน้าไม่เกิน 23 มม. สำหรับ เครื่อง Notebook ที่แปลงร่างเป็น Tablet ได้
  • จะต้องใช้ Battery ทำงานได้อย่างน้อย 5 ชม
  • การพร้อมทำงานจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7 วินาที จาก สถานะ S4 (ตื่นจาก Hibernate)
  • มี USB 3.0
  • Data Transfer ระดับ 80MB/วินาที และมีพื้นที่อย่างน้อย 16GB

อ่าน Spec ดูแล้วก็รู้สึก อู้ฟู้เอาเรื่องเหมือนกันนะเนี่ย เอาล่ะ เรามาดูกันดีกว่า ว่า Samsung Series 9 จะเป็นยังไงเมื่อเทียบกับ Requirement ของ Samsung นะครับ

Spec ของ Samsung Series 9 

  • CPU Intel Ivy Bridge Core i5 รหัส 3317U ความเร็ว 1.7Ghz
  • แรม 4GB
  • ฮาร์ดดิสก์เป็น SSD จาก Sandisk รุ่น U100 ขนาด 128GB
  • หน้าจอ 13.3 นิ้ว ความละเอียด 1600 x 900
  • GPU เป็น INTEL HD Graphic 4000
  • Port USB 3.0 x 1 / Port USb 2.0 x 1 / VGA / HDMA / Audio 3.5 มม.
  • 10/100/1000 LAN Port x 1
  • Wifi เป็น Intel Advanced-N รุ่น 6235 รองรับ Wifi Direct
  • Touchpad ขนาดใหญ่เบิ่มแบบ Multitouch
  • Battery ทำงานต่อเนื่องได้ 7.3 ชม.
  • มาพร้อม License ของ Windows 7 64bit รุ่น Home Premium

แต่อ่าน Spec เฉยๆ แบบนี้มันไม่มันส์ มาแกะกล่อง Samsung Series 9 ภายใต้รหัส NP900X3C กันดีกว่าครับ

ตัวเครื่องบางมากๆครับ ทาง Samsung เคลมเลยว่าเป็น Ultrabook ที่บางที่สุดในโลก โดยวัดจากส่วนที่หนาสุดของตัวเครื่อง คือ หนาเพียง 12.9 มม. เท่านั้นครับ

 

ตัวเครื่องภายนอกเป็นสีน้ำเงินเข้ม รูปที่เห็นอาจจะออกดูเหมือนสีดำ อันนี้พยายามปรับสีแล้ว แต่แสงผมไม่ค่อยดีเท่าไหร่เลยได้ประมาณนี้ วัสดุที่ใช้เป็นโลหะน้ำหนักเบา จับดูแล้วแน่น แข็งแรง แต่น้ำหนักเบามากๆครับ 1.16 กิโลกรัมเท่านั้น

โดยเฉพาะบานพับที่ออกแบบมาดีมาก สามารถเปิดได้โดยใช้มือเดียวยกบานพับได้เลยครับ เวลาเปิดจะพบว่า จอไม่สวิงเลย เปิดตรงไหนค้างตรงนั้น ตัว Hinge แน่นมากๆครับ

Keyboard แบบ ชิคเล็ต ที่เว้นระยะห่างมาค่อนข้างพอดี พร้อม Hotkey ในการปรับแต่งเครื่องเรียงตั้งแต่ F1 – F12 เลยครับ ที่หล่อมากคือเป็น Backlit Keyboard ที่ฉายไฟสีฟ้าออกมา ทำให้ทำงานตอนกลางคืนได้สบายๆ แถมระบบนี้ทำงานอัตโนมัติโดยการตรวจสอบจาก Light Sensor ในเครื่องด้วยครับ

แต่!!! เจ้า Keyboard นี่ผมอยากจะติ นิดเดียวจริงๆ คือ ทำระยะกดมาน้อยมากๆ เรียกได้ว่าไม่ถึง 1 มม. เลยครับ สำหรับระยะการกด ซึ่งถ้าเป็นคนที่ชอบพิมพ์รัวๆแบบผมหรือหลายๆคน จะรู้สึกพิมพ์ไม่ค่อยต่อเนื่องเพราะระยะกดมันไม่ทำให้รู้สึกว่า กด แต่สำหรับสาวๆ ผมว่าหลายๆคนก็ชอบล่ะครับ มันดูกุบกิบดี ตอนกดอ่ะนะ

Touchpad ขนาดใหญ่เบิ้ม ที่รองรับระบบ Multitouch ด้วย ซึ่งใน Samsung Series 7 ที่ผมเคยรีวิวไป ผม Comment ไปว่า Touchpad แย่ระดับ ทนใช้ไม่ได้ แต่ใน Series 9 ตัวนี้ ปรับปรุงมาดีชนืดผมต้องยกมือกราบเลย เร็ว ไว แม่นยำ จะลาก 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้วก็ไปทันที ไม่มี Lag .. โดยเฉพาะใครที่ชอบใช้ 2 นิ้วทำ Scroll หน้าจอใน Windows .. ลองมารูดซักทีจะติดใจครับ

ด้านซ้ายของเครื่องมี Port สำหรับ Power Supply / USB 3.0 / Mini HDMI และ รูสำหรับ ตัว Extension สำหรับเสียบสาย LAN ครับ ไม่งั้นคงทำเครื่องบางๆไม่ได้อ่ะนะ

อีกด้านของตัวเครื่องจะมี ช่อง Microphone / ช่องสำหรับหัวแปลง VGA / รูหูฟัง + Mic ขนาด 3.5 มม และ USB 2.0 อีก 1 รูครับ

และตรงฝั่งขวาของเครื่อง จะมีช่องของ Card Reader ครับ โดยที่สามารถกดเปิดแล้วค่อยใส่การ์ดเข้าไปอ่าน

ลำโพงของตัวเครื่องจะอยู่ด้านหน้าๆ แต่เป็นใต้เครื่องครับ มีช่องลำโพงสองช่อง โดยที่อาศัยการสะท้อนกับพื้นโต๊ะเพื่อให้เสียงขึ้นมาถึงเรา และใต้เครื่องยังเป็นจุกยางสำหรับกันกระแทกอีกด้วย

ตัวจอจะเป็นจอขนาด 13.3 นิ้วที่ความละเอียด 1600 x 900 .. โอ้มายก๊อด สำหรับ Notebook จอ 13 นิ้วทั่วๆไปเนี่ย ความละเอียดจะอยู่ที่ 1366 x 768 เองครับ แต่ตัวนี้ให้จอละเอียดกว่ามาก แถมจอเป็นจอที่ให้ความสว่างสูงสุดถึง 400 nits (จอทั่วๆไปแค่ 200-250 เท่านั้น) และเป็นจอแบบ Anti Reflective ด้วย ทำให้ใช้งานแล้วไม่ค่อยมีแสงสะท้อนครับ ซึ่งการที่ Samsung สามารถทำจอละเอียดใส่ลงไปในเครื่องขนาดนี้ได้ เพราะสามารถทำให้ขอบจอภาพบางกว่าเดิมครับ เลยมีพื้นที่ยัดจอภาพลงไปได้ แถมตัว Light Sensor ที่ทำงานใน Keyboard ยังทำงานร่วมกับจอภาพ เพื่อปรับแสงที่พอเหมาะของหน้าจอกับห้องทำงานมาให้เราด้วยครับ

และอีกจุดที่ผมชอบมากเลย นั่นก็คือ Power Adapter ครับ มันไม่ใช่แค่เบาครับ แต่มันโคตรเบา แถมเล็กมากๆเลยด้วย ทำให้เราพกพาสะดวกมากๆครับ ผมเคยเจอ Notebook บางๆ ที่ Adapter มันหนักโคตรๆมาเพียบแล้ว แถมหัว Adapter เล็กมากๆครับ อย่างกะที่ชาร์จมือถือ

และสิ่งอื่นๆที่ผมชอบมากๆใน Ultrabook เครื่องนี้ครับ

Battery

อึดมากๆ ผมปิดๆ เปิดๆ แบบ Sleep ทำงานไปๆมาๆ ทั้งวัน ได้สบายๆ เคยแบกไปทำงานโดยที่ตอนเช้าชาร์จเต็ม และกลับมาถึงบ้านตอนประมาณ 23% ครับ งานก็เป็นพวกทำงานเอกสาร ที่ต้อง Wireless Lan ตลอดเวลาด้วย

แถมทาง Samsung ยังเคลมอีกว่า แบทตัวนี้เป็นแบทรุ่นพิเศษที่ทาง Samsung ออกแบบเองโดยที่ทำให้สามารถรองรับ Cycle การชาร์จได้ถึง 1,500 ครั้งครับ โอ้แม่เจ้า แบททั่วๆไป 500 ก็เก็บประจุไฟไม่อยู่แล้ว

ระบบ Samsung Easy Setting ที่ผมเคยรีวิวไปใน Samsung Series 7 ก็มีอยู่ในเครื่องนี้ด้วยทำให้การปรับแต่งส่วนต่างๆของเครื่องทำได้ง่ายขึ้นมากๆครับ

การบูทที่โคตรเร็วมากๆของ Samsung Series 9 เป็นอีกเรื่องที่ผมโคตรชอบครับ คือส่วนตัวผมเองก็ใช้ Thinkpad T420 + SSD ของ OCZ รุ่น Vertex4 นี่ก็เร็วมากอยู่แล้ว แต่ Samsung Series 9 จะมีระบบ Fast Start ที่ทำให้ฟื้นจากสถานะ Sleep โดยใช้เวลาแค่ 1.4 วินาทีเท่านั้น แถมยังฟื้นจากสถานะ Hibernate ก็ใช้เวลาแค่ 9.8 วินาทีเท่านั้นครับ ซึ่งผมได้ทดสอบแล้วเอาวีดีโอมาให้ดูด้วยครับ ลองกดดูเลยครับ ใช้เวลาประมาณ 7-8 วินาทีเท่านั้น ก็ฟื้นจากสถานะ Hibernate มาพร้อมทำงานแล้ว (จริงๆตัวคลิปที่ผมทดสอบ ผมทดสอบจาก Shutdown เลยด้วยซ้ำไม่ใช่ Hibernate)

ผลการทดสอบความเร็วของ SSD ที่อยู่ใน Samsung Series 9 ครับ ซึ่งตัวที่ใช้เป็น SSD ของ Sandisk รุ่น U100 ความเร็วเขียน/อ่านอยู่ที่ 450/350 MB/วินาทีครับ ลองดูผลการทดสอบผ่าน HD Tune กับ ATTO Disk Benchmark กันดู

ความเร็วค่อนข้างสม่ำเสมอมากๆครับ HD Tune ที่มันกระตุกจนตกเหลือ 200Mb นั่น มันคือ ตอนที่ Antivirus ในเครื่องมันเด้งเพื่อขอ Update พอดีนะครับ ส่วน Access Time ที่ 0.3 ms นี่เร็วโพดๆๆๆๆๆ คร้าบ

สำหรับ ATTO Disk Benchmark ก็เห็นชัดเลยว่า ความเร็วอ่านเขียนค่อนข้าง สม่ำเสมอ คือ ค่า Read นี่ทะลุไปถึง 500 ก็มี ส่วนค่า Write ก็จะวนๆอยู่แถว 250MB – 300MB ครับ

ผลการทดสอบ Windows Index Experience ก็ออกมาได้คะแนนประมาณ 5.9 โดยที่คะแนนต่ำสุดดันตกเป็นของแรมไปซะได้ ทั้งๆที่เป็นส่วนที่ทำคะแนนสูงมาโดยตลอดแท้ๆ แต่สังเกตุนะครับ ดูคะแนน Data Transfer Rate หรือคะแนน HDD สูงถึง  7.2 คะแนนเลยทีเดียว

สรุปความรู้สึกที่ได้จากการใช้งาน Samsung Series 9

เครื่องนี้เป็นเครื่องทีได้รับการออกแบบมาเพื่อ คนวัยทำงานที่อายุประมาณ 28-35 โดยที่ใช้มันเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องที่ 2 เพื่องานพกพาล้วนๆครับ  ทำงานนอกบ้าน ดูเอกสาร ตอบ Email เปิดเว็บ อะไรประมาณนั้นเลยครับเป๊ะๆ พอกลับบ้านค่อยมานั่งทำงานจริงๆบน Desktop อะไรแบบนี้

ผมเองก็ได้ทดสอบเอาไปทำงานนอกบ้าน เช่น งานเอกสาร / Email / เขียน Blog / Social Network อะไรประมาณนี้ เรียกว่าสะดวกมาก เพราะน้ำหนักเบา สามารถเปิดแล้วก็ทำงานได้ทันที ไม่เสียเวลา และด้วย Wireless-N ก็ทำให้ใช้งานด้าน Intennet ได้ดีขึ้นไปอีก

หน้าจอก็โคตรสว่าง แถมด้วยความละเอียดสูง ทำให้เปิด Excel ที่มีตารางเยอะๆได้สบายๆ เป็นอีกหนึ่งในสินค้ารีวิว ที่ผมอิดออดที่จะคืนเครื่องเลยล่ะครับ

อ้อ ตอนแบกไปใช้ข้างนอก มีคนมาทักด้วยว่า “พี่ครับ พี่เอา Macbook Air ไปพ่นสีดำที่ไหนอ่ะครับ” อืมมมม อันนี้ก็ฮากันไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ ว่า หน้าตามันก็เหมือน MBA จริงๆครับ แต่ผมก็เชื่อว่า สำหรับคนที่อยากใช้ Notebook ที่มีหน้าตาโคตรเด่ะ แต้่ใช้งาน Mac ไม่ได้เพราะต้องทำงานกับ Windows คุณโคตรเหมาะกับเครื่องนี้เลยครับ

ข้อดี

น้ำหนักเบา วัสดุดี แบทอึด บูทเร็ว เครื่องแข็งแรง แบกแล้วหล่อ มาพร้อม License Windows อีกต่างหาก ชมขนาดนี้ เค้าจะหาว่าเราเป็น Blogger ที่โดนซื้อมาโฆษณาไม๊เนี่ย ฮ่าๆ

ข้อเสีย

Keyboard ที่มีระยะกดสั้นเกินไป อาจจะพิมพ์ไม่มันส์ สำหรับบางคน (เช่นผม) แต่ถ้าคุณรับได้ มันก็ OK ครับ

ตอนนี้ทาง Samsung ก็ได้ประกาศราคาของ Samsung Series 9 ไปแล้วนะครับ นั่นคือ ราคา 42,900 บาท ครับ ก็เป็นราคาที่สูงทีเดียว แต่ถ้าใครที่งบประมาณถึง และกำลังอยากมี Ultrabook ซักเครื่องลองตัวนี้เถอะครับ ผมแนะนำเลยว่าโคตรจะไม่ผิดหวังจริงๆ

สุดท้ายก็ขอขอบคุณทาง Samsung สำหรับเครื่องทดสอบนะครับ

Check Also

รีวิว Auto-Empty Dock ของที่ต้องมีถ้ามีคุณ Roborock s7

ไม่ต้องเกริ่นเยอะ สำหรับคนที่ใช้งานหุ่นยนต์ทำความสะอาด ถึงแม้ว่ามันจะสะดวกสบายก็เถอะ แต่มันก็ยังเหลือ ภาระนิดๆ ให้คุณต้องมาจัดการบ่อยๆ นั่นก็คือ ต้องเอาฝุ่นใน Dustbin มันมาทิ้ง!! Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine

One comment

  1. 42,900 บาทครับ

    อ่านจากบรรทัดที่ 4 นับจากแถวสุดท้าย

Leave a Reply