ตอนนี้ถ้าอ่านข่าววงการ IT อยู่อย่างต่อเนื่องจะพบว่า ตอนนี้คนที่งัดข้อกับ Apple ทั้งทาง Technology และการตลาด ก็คงเป็น Samsung นี่แหละครับ ล่าสุดนี่ก็ฟ้องร้องกันเรื่องความเหมือนกัน ของ iPad กับ Samsung Galaxy Tab .. เอาเป็นว่า เรื่องนั้นก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายกฏหมายละกันครับว่ามันจะออกไปในทิศทางไหน แต่เรามาดูกันหน่อยดีกว่า ว่า Tablet ที่ทำให้ Apple หงุดหงิดขนาดออกมาฟ้อง เพื่อเตะสกัดการขายในหลายๆประเทศมันเป็นยังไงบ้าง
ก่อนหน้าที่ Galaxy Tab 8.9 จะเกิด มันมีรุ่นพี่มาก่อน 2 คนครับ นั่นคือ Galaxy Tab 7″ และ Galaxy Tab 10.1 นั่นเอง ซึ่งตอนนั้นผมก็แปลกใจ ว่าพี่ Samsung เค้าจะเอากันทุกขนาดเลยใช่ไหมเนี่ย เพราะถ้าจะให้ไล่เนี่ย พี่แกมีครบทุกขนาดเลยนะครับ ตั้งกะหน้าขอ 3.2″ บนมือถือ ไล่ไปเรื่อยจนถึง Galaxy S ขนาด 4 นิ้ว และ Galaxy S2 ขนาด 4.3 นิิ้ว แถมยังมี Samsung Galaxy Player และ Galaxy Note ขนาด 5 นิ้วอีก .. ไล่ไปจนถึง Tablet ที่เป็น Galaxy Tab 7″ ไปจนถึง 8.9″ และ 10.1″ เนี่ย ก็เริ่มสงสัย ว่าพี่แกทำธุรกิจมือถือ หรือ ธุรกิจรับตัดเสื้อเพราะมีทุกขนาดเลยทีเดียวครับ
วันนี้ผมแอบหลอยเครื่อง Samsung Galaxy 8.9″ มาเล่น โดยมีข้อแม้ว่า ต้องเขียนรีวิวแลกด้วย ผมก็ต่อรองกลับนะ ว่า ขอรีวิวตามเนื้อผ้า ดีก็กว่าดี อันไหนไม่ดีก็ชี้เป้านะ .. ว่าแล้วก็มาอ่านกันเลยครับ
มาดูหน้าตากันก่อน
Samsung Galaxy Tab มีขนาดหน้าจอ 8.9″ ที่ความละเอียดหน้าจอ 1280 x 800 ซึ่งเป็นหน้าจอขนาด 16:10 ที่เหมาะกับการชมภาพยนตร์แบบ Wide Screen อย่างมาก หน้าจอที่ใช้เป็นจอ Capacitive TFT LCD แบบ 16 ล้านสี ที่มีความหนาแน่นของ Pixel อยู่ที่ 170 ppi (ละเอียดระดับนึงเลยทีเดียว) ตัวเครื่องมีความบาง 8.6 มม ได้รับขนานนามว่าเป็น Tablet Android ที่บางที่สุดในโลก และเบามาก ด้วยน้ำหนักแค่ 453 กรัม (Galaxy 10.1 หนัก 589 กรัม และ iPad2 หนัก 607 กรัม)
ปุ่มที่อยู่บนตัวเครื่อง มีแค่ปุ่มเปิดเครื่อง และ ปุ่มควบคุมเสียงเท่านั้น ที่เหลือก็จะเป็นช่องหูฟังขนาด 3.5 มม. / ช่องใส่ Sim ขนาดปกติ และ ช่องเสียบสายชาร์จและสาย Sync ซึ่งหน้าตาชวนสับสนกับสาย Sync ของ iPad มาก แต่ใช้ด้วยกันไม่ได้นะครับ
ข้อดีมากๆ ของ Galaxy Tab 8.9″ คือ เบามากๆ เรียกได้ว่าเป็นขนาดในอุดมคติของ Tablet เลยนะ เพราะผมเองก็คิดว่า iPad มันก็หนักไปนิดนึง ในการใช้งานแบบนอนใช้ นอนอ่านหนังสืออะไรแบบนี้ iPad จะฟาดหน้าเอาบ่อยมาก เพราะมันโคตรหนัก แต่ขนาด 8.9″ + น้ำหนักแค่ 459 กรัมนี่มันแจ๋วจริงๆครับ แถมมากับ หน้าจอแบบความละเอียดระดับ HD อีก เลยทำให้เหมาะมาก ทั้งการ ดูหนัง , เล่นเว็บ , Youtube และเล่นเกม
ตอนนี้ Tablet ที่เป็น Android ทั้งหมดใช้ CPU เดียวกันนั่นก็คือ nVidia Tegra 2 ที่เป็น Duocore 1Ghz กับแรมอีก 768 MB ก็ถือว่า เยอะ และ แรงอยู่พอประมาณเลยทีเดียว ผลการทดสอบกับ Quadrant ได้คะแนนอยู่ที่ประมาณ 1900 คะแนน +/- 100 ก็ถือว่าเป็นคะแนนที่สมเหตุผลอยู่เหมือนกัน และ สำหรับพื้นที่เก็บหน่วยความจำของ Galaxy Tab 8.9 ตัวนี้อยู่ที่ 16GB (แต่ที่ต่างประเทศมีรุ่นใหญ่ถึง 64GB เลยครับ) ซึ่งพอลง OS และอื่นๆไปก็เลยทำให้เหลือเนื้อที่ได้ประมาณ 13GB เท่านั้น ส่วนความถี่ 3G เป็นความถี่ครอบจักรวาลครับ นั่นก็คือรองรับ 850 / 900 / 2100 Mhz สามารถใน Sim ของ Dtac , True , AIS และ TOT ได้ครบทุกยี่ห้อ
กล้องหลังขนาด 3MB และ กล้องหน้าขนาด 2MB .. ซึ่งสิ่งที่เป็นที่รู้กันในวงการ Tablet ก็คือ เค้าจะไม่เอาเซนเซอร์แบบเทพๆที่อยู่ในกล้องมือถือมาใส่ครับ เพราะมันจะทำให้เกิดการแย่งตลาดกันเอง กล้องที่ให้มาก็จะมีความละเอียดไม่เยอะเท่าไหร่ เอาไว้ใช้สำหรับ Conference Call กับถ่ายรูปและวีดีโอนิดหน่อยเท่านั้น
ส่วนเซนเซอร์อื่นๆ เช่น Gyroscope , Accelerometer , และอื่นๆที่ Android รองรับได้ ก็มีใส่ไว้ครบ , Bluetooth เป็นเวอร์ชั่น 2.0 ส่วน Wireless LAN ก็รองรับมาตรฐาน B/G/N ครบครับ
สำหรับ แบตเตอรี่ก็ให้มาจุใจด้วยขนาด 6000 mAh เล่นแบบบ้าระห่ำวันนึง พอแบบสบายๆ
TouchWiz UI
เนื่องจากทาง Google ได้มีนโยบายห้ามทุกคนที่เอา Honeycomb ไปใช้ ทำ Shell แบบส่วนตั๊วๆ เหมือนในโทรศัพท์มือถือ (ถ้ายังจำกันได้ Android แต่ละค่ายจะมีหน้าตาไม่เหมือนกัน ก็เพราะมันใช้ Homescreen กันคนละแบบนี่แหละครับ) ซึ่งทาง Samsung ก็มี Homescreen ของตัวเองชื่อว่า TouchWiz UI .. แต่ทาง Google ไม่ให้ทำการแปลงหน้าตา ทาง Samsung เลยคลอบตัว TouchWiz UI มาในลักษณะส่วนเสริมจาก Home Screen หลักแทน โดยที่จะมีความสามารถอย่าง การสลับหน้าต่างและ Hotkey ในการเรียกโปรแกรมต่างๆขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงสามารถทำ Screen Capture ได้โดยที่ไม่ต้องลงโปรแกรมเสริมอื่นใดครับ
การใช้งานทั่วไป
Galaxy Tab 8.9″ ตัวนี้สามารถรองรับงานทั่วๆไปได้หมด ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเว็บ (ใช้ Chrome ในตัวเครื่อง เนียนมาก) , การทำงานเอกสารก็มีโปรแกรม Polaris Office มาให้ , การจด Note ก็มีโปรแกรม S Pen มาให้ , และถ้าอยากได้ Application อะไรอื่นๆก็โหลดเอาได้จาก Android Market แถมยังมี Samsung App ซึ่งเป็นช่องทางพิเศษในการติดตั้ง App อื่นๆ ที่มันเสียเงิน แต่ Samsung เค้าไปซื้อมาให้เราใช้งานได้ฟรีๆ (อันนี้ยอดมากๆ)
การทำงานกับภาษาไทยก็เรียบร้อยดี อ่านได้โดยที่การตัดคำไม่มีปัญหา แถมยังรองรับเมนูไทยสมบูรณ์แบบ พร้อมกับ Keyboard ไทยที่ทำมาได้ค่อนข้างดีมากๆ (ใช้การกดเบิ้ลๆไปเรื่อยๆเพื่อเปลี่ยนตัวอักษร อารมณ์เหมือนพิมพ์บน BB น่ะแหละครับ) แต่ผมยังพบอาการช้าๆ ของการพลิกหน้าจอสลับจากแนวตั้งเป็นแนวนอน รวมไปถึง การเรียกโปรแกรมยังหน่วงๆอยู่ ทั้งๆที่ Spec ก็ออกจะแรง
Honeycomb 3.1 ระบบปฏิบัติการของ Android บน Tablet
สิ่งทีทำให้ Galaxy Tab 8.9 และ 10.1 ต่างจาก Galaxy Tab 7 ก็คือ ระบบปฏิบัติการครับ เพราะบน Tab 7 ใช้ Android 2.2 ที่เป็นเวอร์ชั่นของโทรศัพท์มือถือ แต่เอามาขยายหน้าจอเท่านั้น แต่สำหรับ Tab 8.9 และ 10.1 จะใช้ Android Honey Comb 3.1 ที่เรียกได้ว่าออกแบบมาเพื่อ Tablet โดยเฉพาะ ดังนั้น Application ที่เป็นของ Google จะได้รับการออกแบบใหม่หมด ทำให้หน้าตาเหมาะกับการใช้งานบน Tablet มาก โดยเฉพาะ Google Talk ที่ตอนนี้รองรับการทำ Video Call ทำเม้าท์แบบเห็นหน้าตากันได้สบายๆ
โดยส่วนตัวผมคิดว่า Honeycomb มีทั้งส่วนดีและไม่ดี เพราะจากความเคยชินที่ใช้ Android 2.x มาโดยตลอด มันจะมีความเคยชินกับการใช้งานปุ่มหลักๆของ Android นั่นคือ Home , Back และ Setting ซึ่งใน Honeycomb มันเล่นโยกย้ายปุ่มใหม่หมด กว่าจะกดเหมือนเดิมได้เล่นเอามึนส์ และนักพัฒนาทั้งโลก ก็เหมือนจะงงๆกับ Google เพราะลู่ทางในการพัฒนา Honeycomb มันตันๆชอบกล เพราะว่า พี่แกเล่นไม่เปิด Sourcecode ให้ใช้งานเลย เลยทำให้ Honeycomb ตันอยู่แค่กับผู้ผลิตเครื่องเท่านั้น พวก App สำหรับตัว Tablet ตรงๆก็เลยเหมือนไม่ค่อยจะมี ยกเว้นเกมนี่แหละที่ยังเยอะหน่อย
ผมเลยคิดว่าแทนที่จะมาลุ้น Honeycomb ก็มองไกลๆไปเลย ด้วยการหวังว่าทาง Samsung จะอัพเกรด Icecream Sandwich ให้ดีกว่า เพราะผมว่า Honeycomb มันยังแหม่งๆจริงๆครับ
ข้อดี และ ข้อเสียในการใช้งาน
ข้อดี
- น้ำหนักเบาแบบชนะเลิศ
- มี Application เสริมจาก Samsung App ให้โหลดฟรีๆ
- Accessories เยอะมากๆ มีตัวต่อ TV Out , Keyboard Docking , Keyboard Case
- เพิ่มหน่วยความจำโดยใช้ SD Card ไม่ได้ (เสียสถาบัน Android หมด)